วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กล้วยตากบ้านเกาะคู

ประวัติความเป็นมากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
นายประภาส สิงหลักษณ์ เป็นชาวอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันอายุ 63 ปี (พ.ศ. 2551) เป็นบุตรชายคนโตของ นายปั้นหยี (กำนันหยี) และนางกี่ สิงหลักษณ์ มีพี่น้อง รวม 8 คน เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 สมรสกับนางละเอียด สิงหลักษณ์ มีบุตรธิดารวม 4 คน ได้รับเลือกเป็นผู้ ใหญ่บ้าน และเป็นกำนันในสมัยต่อมา นายประภาสจึงทุ่ม เททั้งกำลังกาย กำลังใจ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ "กำนัน" ของ ตำบลบางกระทุ่ม จนมีผลงานโด่งดังในด้านการบริหาร และการพัฒนาชุมชน ผลงาน

1. บริหารงานของชุมชนที่รับผิดชอบได้ผลดีเยี่ยม จึงได้รับรางวัลกำนันดีเด่นของอำเภอบางกระทุ่มถึง 2 สมัย ติดต่อกัน
2. การส่งเสริมอาชีพการปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง ซึ่งบิดา ได้นำพันธุ์มาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ทดลองปลูกและได้ผลดี เยี่ยมในพื้นที่เกาะคู อำเภอบางกระทุ่ม จึงแจกจ่ายพันธุ์ กล้วยให้ชาวบางกระทุ่มปลูกจนทั่วถึง และได้กล้วยน้ำว้า ที่มีคุณภาพ นำมาผลิตอาหารพื้นเมือง "กล้วยตากเกาะคู" และ "กล้วยตากบางกระทุ่ม" ได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไป
3. ได้รับรางวัลสิงห์ทอง ในฐานะผู้นำอาชีพก้าวหน้าระดับ จังหวัดพิษณุโลก
4. ได้รับยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ประ จำปี พ.ศ.2536
5. ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนาชุม ชน จากสถาบันราชภัฏพิบูล-สงคราม จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.2537
6. ปรับปรุงการผลิตกล้วยตากให้ทันสมัย เน้นความสะอาด ถูก หลักอนามัย โดยใช้โรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในการตากกล้วย
กล้วยตากบางกระทุ่มเป็นที่รู้จักของพ่อค้ากล้วยตากในแถบภาคกลางมานานราว 25 ปี มีเกาะคูเป็นแหล่ปลูกกล้วยน้ำว้าพื้นถิ่นชื่อพันธุ์มะลิอ่องซึ่งนำมาผลิตกล้วยตากคุณภาพดี กล้วยพันธุ์มะลิอ่องมีคุณสมบัติพิเศษที่เหมาะแก่การทำกล้วยตากคือ มีลูกกลมสั้น เปลือกบาง ผิวสวย เนื้อละเอียด หวานแบบธรรมชาติ ไส้สีขาว และไม่มีเมล็ด เกาะคูเป็นที่ราบ มีน้ำล้อมรอบ มีเนื้อที่ราว 200 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์ดังกล่าวเพื่อส่งไปขายยังนครสวรรค์ ช่องแค ตาคลี ลพบุรี และอยุธยา ส่วนกล้วยที่เหลือจะนำมาทำกล้วยตากแล้วส่งไปขายเช่นกัน ในระยะแรก ๆ กล้วยตากบางกระทุ่มยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก จนกระทั่งหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของไทยได้นำเรื่องราวไปนำเสนอ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ทุกวันนี้ที่ดินบริเวณเกาะคูเป็นของกำนันประภาส สิงหลักษณ์ ผู้ริเริ่มการตากกล้วยในตู้อบพลังแสงอาทิตย์

กล้วยน้ำหว้าพันธุ์มะลิอ่อง ลักษณะ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องมีลักษณะพิเศษ ดังนี้ ต้น มีลำต้นสูง 3.5 เมตร เส้น ผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ก้านลำต้น ด้านนอกสีเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างป้อมม้วนงอขึ้น ปลายม้วน ด้านบนมีสีแดงอมม่วง สีนวล ด้านล่าง สีแดงเข้ม ผล เครือหนึ่งมี 7-10 หวี ๆ หนึ่ง มี 10-16 ผล ผลมีเหลี่ยมเล็กน้อย ถ้าแก่ จัดค่อนข้างกลม ผลกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 11-13 เซนติเมตร เปลือกบาง มีสีเหลืองนวล เนื้อ ขาว ไส้กลางมีสีขาว เนื้อนุ่ม มี รสหวานจัด ไม่มีเมล็ด ถิ่นที่อยู่ โครงการตามพระราชดำริ จัดตั้งโครงการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม บริเวณทุ่งทะเลแก้ว จังหวัดพิษณุโลก โดยคัดเลือก ต้นพันธุ์จากสวนกล้วยน้ำว้า พันธุ์มะลิอ่อง ของกำนัน ประภาส สิงหลักษณ์ บ้านเกาะคู ตำบลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ความสัมพันธ์กับชุมชน ปัจจุบันเกษตรกรได้ขยายพื้นที่การปลูกกล้วยน้ำว้า พันธุ์มะลิอ่อง สำหรับอุตสาหกรรมกล้วยตาก ซึ่ง นอกจากจะดำเนินการในจังหวัดพิษณุโลกแล้ว ยัง ขยายพันธุ์ไปยังจังหวัดอื่นๆ ด้วย เช่น พิจิตร สุโขทัย เชียงใหม่ เป็นต้น ความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถให้ผลผลิตได้เป็นจำนวนมากและนำ ไปทำกล้วยตาก จนเป็นอาชีพที่สำคัญอย่าง หนึ่งของชาวจังหวัดพิษณุโลก

กล้วยเป็นพืชที่อยู่คู่บ้านของคนไทยในอดีต เพราะทุกส่วนของกล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ต้นกล้วยนำมาเป็นอาหารของหมู กาบกล้วยทำเชือก แกนในกล้วยนำมาทำแกงที่เรียกว่าแกงหยวก ใบกล้วยที่เรียกว่าใบตองนำมาทำประโยชน์มากมาย ตั้งแต่ทำบายศรีใน พิธีกรรมต่างๆ จนถึงใช้ห่อของ ดอกกล้วยที่เรียกว่าหัวปลีนำมารับประทานทั้งสดๆ เช่น หั่น ซอย รับประทานกับขนมจีนน้ำพริก หั่นยาวๆรับประทานกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทย นำมาทำกับข้าว เช่น ต้มยำหัวปลี เป็นต้น ผลกล้วยให้คุณค่าทางอาหารทั้งผลดิบและผลสุก โดยเฉพาะ ผลสุกนำมาบดกับข้าวป้อนเด็ก กล้วยสามารถนำไปทำอาหารได้ทั้งคาวและหวานมากมาย ถ้ามีกล้วยสุก มากเกินไป ในอดีตชาวบ้านจึงมีวิธีถนอมอาหารประเภทกล้วยนี้ด้วยการปอกเปลือก นำไปตาก เก็บไว้รับประทานได้เป็นเวลานาน จังหวัดพิษณุโลก มีอำเภอหนึ่งคือ อำเภอบางกระทุ่ม ระยะทางอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๓๕ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย สินค้าสำคัญที่มีชื่อเสียงและสร้างรายได้เป็นอย่างดี คือ กล้วยตาก ซึ่งมีรสหวาน กลิ่นหอม นุ่ม อร่อย ส่งไปขายทั่วประเทศ รวมทั้ง ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และ สหรัฐอเมริกาอีกด้วยในนามกล้วยตากบางกระทุ่ม จากที่ได้กล่าวแล้วว่ากล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีคุณค่า มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยน้ำว้าซึ่งมี สารอาหารประเภท โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก น้ำ น้ำตาล และวิตามินซี ล้วนแล้วแต่เกิดประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น ชาวอำเภอบางกระทุ่มจึงนิยมปลูกกล้วยน้ำว้า ได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนเป็นที่นิยมปลูกกันมาก คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง มีคุณสมบัติ เป็นกล้วยพันธุ์ที่โตเร็ว มีความต้านทานโรคและแมลง ให้ผลมาก เนื้อละเอียด ไส้กล้วยอ่อนเป็น สีขาว มีความหวานสูง จึงเป็นกล้วยพันธุ์ที่ดีที่สุดสำหรับนำมาทำกล้วยตาก

คุณศิลาพร สิงหลักษณ์ บุตรสาวกำนันประพาส เป็นผู้ประสานงานกลุ่มเเละเจ้าหน้าที่การตลาด ทำกล้วยตากมาตั้งเเต่สมัยบรรพบุรุษโดยสมัยก่อนทำกล้วยตากโดยการตากเเดดโดยไม่มีตู้ ปัจจุบันมีตู้ตากพลังงานเเสงอาทิตย์ ที่กลุ่มเป็นกลุ่มที่ได้มาตรฐาน OTOP 5 ดาว เเละในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้รับรางวัลที่ 1 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามสยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้สินค้ายังได้รับความนิยมตจากกลุ่มลูกค้าเป็นอันมาก กำลังผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้สินค้ากล้วยตากกำนันประภาส ยังมีจำหน่ายในร้านซีพีออล ร้านก้านกล้วย

ติดต่อผลิตภัณฑ์ได้ที่
คุณศิลาพร สิงหลักษณ์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านเกาะคู
137 หมู่ที่ 3 ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
โทร.086-8329391

พาณิชย์จังหวัดพิษณุโลกประชุมหารือ เรื่องอนุมัติให้ปรับเพิ่มรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 อีกจำนวน 2.0 ล้านตัน

คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) มีมติเมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2552 อนุมัติให้ปรับเพิ่มรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 อีกจำนวน 2.0 ล้านตัน เพื่อให้เกษตรกรสามารถจำนำข้าวเปลือกในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2552 (ภาคใต้เดือน กรกฎาคม – กันยายน 2552 ) ซึ่งเป็นระยะเวลารับจำนำที่กำหนดไว้ได้ โดยจะไม่ขยายระยะเวลาสิ้นสุดการรับจำนำออกไปอีก และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกพิจารณาจัดสรรปริมาณการรับจำนำข้าวเปลือกให้แต่ละจังหวัดตามเกณฑ์ผลผลิตคงเหลือของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อให้สามารถกระจายการรับจำนำให้เกษตรกรได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง รวมทั้งให้มีการกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างเคร่งครัด ทั้งข้าวที่โรงสีรับจำนำ และข้าวที่โรงสีต้องรับซื้อทางการค้าปกติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ การทุจริตการนำข้าวลักลอบ ข้าวเก่าหมุนเวียนเข้าร่วมโครงการ
กรมการค้าภายใน ในฐานะฝ่ายเลขาการ กขช. ขอเรียนว่า คณะอนุกรรมการดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกได้ประชุม เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2552 เพภื่อดำเนินการตามนัยมติ กขช. ดังกล่าว ละมีมติ ดังนี้
1. การสั่งสีแปรสภาพ เห็นชอบให้ อคส. และ อ.ต.ก. ปรับเปลี่ยนการสั่งสีแปรสภาพข้าวเปลือกโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 จากเดิมที่กำหนดให้สั่งสีแปรสภาพข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ทุก 15 วัน ทุก 30 วัน ในอัตราร้อยละ 50 ของปริมาณข้าวเปลือกที่ได้รับจำนำ และส่งมอบข้าวสารเข้าโกดังกลาง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่สั่งสีแปรสภาพ
2. การจัดสรรปริมาณการรับจำนำ เห็นชอบให้จัดสรรปริมาณการรับจำนำตามแนวทางที่กำหนดไว้เดิม คือ ให้จังหวัดแหล่งผลิตในอัตราร้อยละ 70 (ปริมาณ 1,400,000 ตัน ) และโควตากลาง ร้อยละ 30 (ซึ่งรวมผลผลิตของภาคใต้ที่คาดว่าจะมีผลผลิตประมาณ 199,000 ตัน ของปริมาณข้าวเปลือกที่ได้รับอนุมัติเพิ่มเติมอีก จำนวน 2 ล้านตัน ตามสัดส่วนปริมาณผลผลิตคงเหลือของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (เดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2552 ) กรณีจำเป็นและจังหวัดร้องขอให้เพิ่มเติมให้ฝ่ายเลขานุการพิจารณาจัดสรรจากโควตากลาง โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ประธานอนุกรรมการและมอบหมายให้คณะอนุ กขช. ระดับจังหวัด พิจารณาจัดสรรปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2552 ให้โรงสีที่เข้าร่วมโครงการกับ อคส. และ/หรือ อ.ต.ก. ตามปริมาณที่ได้รับจัดสรร โดยพิจารณาตามกำลังการผลิตของโรงสีที่เข้าร่วมโครงการหรือตามที่เห็นสมควร

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ไต้หวันประกาศเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าโหระพาสดและผักชีฝรั่งสด

ไต้หวันประกาศเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสินค้าโหระพาสดและผักชีฝรั่งสดนางสาวชุติมา บุณยประภัศร รักษาการอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศได้รับแจ้งจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงมะนิลา (ส่วนที่ 2) เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2552 ว่า ทบวงสาธารณสุขไต้หวันได้ประกาศเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสารตกค้างและยาฆ่าแมลงในสินค้าโหระพาสดและผักชีฝรั่งสดที่นำเข้าไต้หวันให้มากขึ้น โดยจะดำเนินมาตรการ ดังนี้1. ตั้งแต่วันที่ 12 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป ไต้หวันจะตรวจสอบสารตกค้างในสินค้าโหระพาสด(fresh sweet basil) และผักชีฝรั่งสด(fresh stinking) ที่นำเข้าทุกล็อต และจะไม่อนุญาตให้นำสินค้าออกจากท่าเรือจนกว่าจะทราบผลการตรวจสอบ ซึ่งผู้นำเข้าต้องเป็นผู้รับภาระค่าใช้จ่ายดังกล่าว2. สินค้าดังกล่าวที่นำเข้าตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2552 เป็นต้นไป ผู้ส่งออกจะต้องแนบผล การตรวจสอบจากประเทศต้นทางด้วย โดยในเอกสารต้องระบุรายละเอียด ดังนี้ ชื่อผู้ส่งออก ชื่อสินค้า ปริมาณ วันที่ตรวจสอบ ค่ากำหนดขั้นต่ำที่ใช้ในการเปรียบเทียบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบ ชื่อและลายมือชื่อผู้ทำการตรวจสอบ และประทับตราห้องปฏิบัติการที่ทำการตรวจสอบ นางสาวชุติมาฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ไต้หวันเป็นตลาดนำเข้าผักและผลไม้ที่ค่อนข้างเข้มงวดการนำเข้ามาก โดยเฉพาะในเรื่องสารตกค้างและการระบาดของแมลงศัตรูพืช ปัจจุบันไต้หวันเป็นตลาดส่งออกผักสดแช่เย็น แช่แข็งที่สำคัญอันดับ 4 ของไทย โดยในปี 2551 ไทยมีการส่งออกผักสดแช่เย็น แช่แข็งไปยังไต้หวันมูลค่าประมาณ 400 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10 ของมูลค่าทั้งหมดที่ไทยส่งออกผักสดแช่เย็น แช่แข็งไปยังตลาดโลก ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรเพิ่มความระมัดระวังในการใช้สารฆ่าแมลงให้มากขึ้น และปฏิบัติตามกฎระเบียบ การนำเข้าตามที่ไต้หวันกำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันปัญหาการถูกกักกันสินค้า ณ ด่านนำเข้า และถูกตีกลับหรือถูกทำลาย อันอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าผักสดของไทยโดยรวมได้ทั้งนี้ สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณสารตกค้างสูงสุดที่ไต้หวันอนุญาตให้มีได้ในสินค้าเกษตรได้ที่

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ

คต. แจ้ง “ข้าวไทย” ได้สิทธิ GSP รัสเซีย แต่ยังใช้สิทธิน้อย

คต. แจ้ง “ข้าวไทย” ได้สิทธิ GSP รัสเซีย แต่ยังใช้สิทธิน้อย นางสาวชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า ภาวะการค้าระหว่างไทยกับรัสเซีย ในปี 2551 (ม.ค.- ธ.ค.) มีมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 3,839.45 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยไทยมีการส่งออกมูลค่า 956.06 ล้านเหรียญสหรัฐฯ นำเข้ามูลค่า 2,883.39 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ไทยขาดดุลการค้ารัสเซีย 1,927 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าสินค้าน้ำมันดิบและผลิตภัณฑ์จากการกลั่นทาร์ในมูลค่าสูง สำหรับการได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ GSP รัสเซียให้สิทธิฯ ประเทศไทยในสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมจำนวนหลายรายการ โดยลดหย่อนภาษีนำเข้าปกติลงถึงร้อยละ 25 โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 (ม.ค.- ก.พ.) กรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Form A) เพื่อนำไปลดหย่อนภาษีขาเข้าประเทศรัสเซีย จำนวน 1,009 ฉบับ มูลค่า 23.08 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ ข้าว (อยู่ในรายการที่ได้สิทธิ GSP มีอัตราภาษีปกติร้อยละ 10 และได้ลดภาษีเหลือร้อยละ 7.5) เครื่องปรับอากาศ โพลิเอสเตอร์ ส่วนประกอบรถยนต์ และเครื่องประดับเพชรพลอย ส่วนสินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์เหล็ก แร่ และอะลูมิเนียมเจือ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่มีการใช้สิทธิ GSP สูง ได้แก่ ข้าว (ร้อยละ 67 ของการใช้สิทธิรวม) พืชผัก/ผลไม้ ปรุงแต่ง (ร้อยละ 7) สับปะรดปรุงแต่ง (ร้อยละ 4) ข้าวโพดหวานปรุงแต่ง (ร้อยละ 4) เป็นต้น ข้าวไทยมีศักยภาพในการส่งออกไปรัสเซียสูง โดยในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2552 มีการส่งออกถึง 63 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่มีการใช้สิทธิเพียง 15 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนการใช้สิทธิ ร้อยละ 25 จึงอยากเชิญชวนให้ผู้ส่งออกเร่งมาขอใช้สิทธิฯ เพื่อเพิ่มมูลค่าการส่งออกภายใต้ GSP จากรัสเซียให้มากยิ่งขึ้น

ที่มา : กรมการค้าต่างประเทศ

พาณิชย์เผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพฤษภาคม 2552

พาณิชย์เผยตัวเลขเงินเฟ้อเดือนพ.ค.ติดลบ 3.3% ขณะที่ในช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้ติดลบ 1.1% ผลพวงราคาอาหาร-พลังงานลดกระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI)ในเดือน พ.ค.52 อยู่ที่ 104.3 ลดลง 3.3% จากเดือน พ.ค.51 และลดลง 0.3% จากเดือน เม.ย.52 ส่วน CPI เฉลี่ยช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-พ.ค.52) ลดลง 1.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและพลังงานในเดือน พ.ค.52 อยู่ที่ระดับ 102.3 ลดลง 0.3% จากเดือน พ.ค.51 และลดลง 0.6% จากเดือน เม.ย.52 แต่ Core CPI เฉลี่ยช่วง 5 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-พ.ค.52) ยังเพิ่มขึ้น 1.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนสำหรับดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือน พ.ค.52 อยู่ที่ 116.9 สูงขึ้น 0.1% จากเดือน เม.ย.52 และสูงขึ้น 4.2% จาก พ.ค.51 ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 96.2 ลดลง 0.5% จาก เม.ย.52 และลดลง 8.6% จาก พ.ค.51

ที่มา : หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

เทศกาลของดีชายแดนใต้


ขอชิญร่วมพิธีเปิดงาน เทศกาลของดีชายแดนใต้ แอ่วบ้าน ผ่อสวน ดูของแปลกด้วย ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ได้กำหนดจัดงาน “เทศกาลของดีชายแดนใต้” ขึ้น ณ บิ๊กซีอารีน่า ดอนจั่น จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 28 พ.ค. – 3 มิ.ย. 2552 และงาน “แอ่วบ้านบ้าน ผ่อสวน ดูของแปลก” พิธีเปิดงานขึ้นในวันที่ 28 พฤษภาคม 2552 เวลา 18.30 น. ณ บิ๊กซีอารีน่า ดอนจั่น จ.เชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายพระนาย สุวรรณรัฐ ผู้อำนวยการ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และ นายอมรพันธุ์ นิมานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานกล่าวต้อนรับ


แหล่งข้อมูลข่าว : บริษัท สยามเอ็กซิบิชั่น จำกัด

เปิดงานเทศกาลมะเฟืองหวานประสานผลไม้ดี

วันที่ 24 พฤษภาคม 2552 นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลกนางพิมล ปงกองแก้ว และเจ้าหน้าที่สำนักงานพาณิชย์ได้ร่วมเปิดงานเทศกาลมะเฟืองหวาน ณ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก โดยสำนักงานพาณิชย์ได้จัดนาทีทอง ไข่ไก่ ฟองละ 1 บาท น้ำตาลกิโลกรัมละ 15 บาทมีประชาชนให้ความสนใจกันเป็นอย่างมาก


แหล่งข้อมูลข่าว : สำนักงานจังหวัดพิษณุโลก