วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2552

กล้วยตากบ้านเกาะคู

ประวัติความเป็นมากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร
นายประภาส สิงหลักษณ์ เป็นชาวอำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ปัจจุบันอายุ 63 ปี (พ.ศ. 2551) เป็นบุตรชายคนโตของ นายปั้นหยี (กำนันหยี) และนางกี่ สิงหลักษณ์ มีพี่น้อง รวม 8 คน เรียนจบชั้นมัธยมปีที่ 3 สมรสกับนางละเอียด สิงหลักษณ์ มีบุตรธิดารวม 4 คน ได้รับเลือกเป็นผู้ ใหญ่บ้าน และเป็นกำนันในสมัยต่อมา นายประภาสจึงทุ่ม เททั้งกำลังกาย กำลังใจ ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ "กำนัน" ของ ตำบลบางกระทุ่ม จนมีผลงานโด่งดังในด้านการบริหาร และการพัฒนาชุมชน ผลงาน

1. บริหารงานของชุมชนที่รับผิดชอบได้ผลดีเยี่ยม จึงได้รับรางวัลกำนันดีเด่นของอำเภอบางกระทุ่มถึง 2 สมัย ติดต่อกัน
2. การส่งเสริมอาชีพการปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง ซึ่งบิดา ได้นำพันธุ์มาจากจังหวัดฉะเชิงเทรา ทดลองปลูกและได้ผลดี เยี่ยมในพื้นที่เกาะคู อำเภอบางกระทุ่ม จึงแจกจ่ายพันธุ์ กล้วยให้ชาวบางกระทุ่มปลูกจนทั่วถึง และได้กล้วยน้ำว้า ที่มีคุณภาพ นำมาผลิตอาหารพื้นเมือง "กล้วยตากเกาะคู" และ "กล้วยตากบางกระทุ่ม" ได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไป
3. ได้รับรางวัลสิงห์ทอง ในฐานะผู้นำอาชีพก้าวหน้าระดับ จังหวัดพิษณุโลก
4. ได้รับยกย่องเป็นบุคคลดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม ประ จำปี พ.ศ.2536
5. ได้รับปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการพัฒนาชุม ชน จากสถาบันราชภัฏพิบูล-สงคราม จังหวัดพิษณุโลก เมื่อปี พ.ศ.2537
6. ปรับปรุงการผลิตกล้วยตากให้ทันสมัย เน้นความสะอาด ถูก หลักอนามัย โดยใช้โรงอบพลังงานแสงอาทิตย์ มาใช้ในการตากกล้วย
กล้วยตากบางกระทุ่มเป็นที่รู้จักของพ่อค้ากล้วยตากในแถบภาคกลางมานานราว 25 ปี มีเกาะคูเป็นแหล่ปลูกกล้วยน้ำว้าพื้นถิ่นชื่อพันธุ์มะลิอ่องซึ่งนำมาผลิตกล้วยตากคุณภาพดี กล้วยพันธุ์มะลิอ่องมีคุณสมบัติพิเศษที่เหมาะแก่การทำกล้วยตากคือ มีลูกกลมสั้น เปลือกบาง ผิวสวย เนื้อละเอียด หวานแบบธรรมชาติ ไส้สีขาว และไม่มีเมล็ด เกาะคูเป็นที่ราบ มีน้ำล้อมรอบ มีเนื้อที่ราว 200 ไร่ เป็นพื้นที่ปลูกกล้วยน้ำว้าพันธุ์ดังกล่าวเพื่อส่งไปขายยังนครสวรรค์ ช่องแค ตาคลี ลพบุรี และอยุธยา ส่วนกล้วยที่เหลือจะนำมาทำกล้วยตากแล้วส่งไปขายเช่นกัน ในระยะแรก ๆ กล้วยตากบางกระทุ่มยังไม่เป็นที่รู้จักเท่าใดนัก จนกระทั่งหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของไทยได้นำเรื่องราวไปนำเสนอ จึงเริ่มเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ทุกวันนี้ที่ดินบริเวณเกาะคูเป็นของกำนันประภาส สิงหลักษณ์ ผู้ริเริ่มการตากกล้วยในตู้อบพลังแสงอาทิตย์

กล้วยน้ำหว้าพันธุ์มะลิอ่อง ลักษณะ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่องมีลักษณะพิเศษ ดังนี้ ต้น มีลำต้นสูง 3.5 เมตร เส้น ผ่าศูนย์กลางมากกว่า 15 เซนติเมตร ก้านลำต้น ด้านนอกสีเขียวอ่อน มีประดำเล็กน้อย ดอก ก้านช่อดอกไม่มีขน ใบประดับ รูปไข่ค่อนข้างป้อมม้วนงอขึ้น ปลายม้วน ด้านบนมีสีแดงอมม่วง สีนวล ด้านล่าง สีแดงเข้ม ผล เครือหนึ่งมี 7-10 หวี ๆ หนึ่ง มี 10-16 ผล ผลมีเหลี่ยมเล็กน้อย ถ้าแก่ จัดค่อนข้างกลม ผลกว้าง 3-4 เซนติเมตร ยาว 11-13 เซนติเมตร เปลือกบาง มีสีเหลืองนวล เนื้อ ขาว ไส้กลางมีสีขาว เนื้อนุ่ม มี รสหวานจัด ไม่มีเมล็ด ถิ่นที่อยู่ โครงการตามพระราชดำริ จัดตั้งโครงการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่สถาบันราชภัฏพิบูลสงคราม บริเวณทุ่งทะเลแก้ว จังหวัดพิษณุโลก โดยคัดเลือก ต้นพันธุ์จากสวนกล้วยน้ำว้า พันธุ์มะลิอ่อง ของกำนัน ประภาส สิงหลักษณ์ บ้านเกาะคู ตำบลบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ความสัมพันธ์กับชุมชน ปัจจุบันเกษตรกรได้ขยายพื้นที่การปลูกกล้วยน้ำว้า พันธุ์มะลิอ่อง สำหรับอุตสาหกรรมกล้วยตาก ซึ่ง นอกจากจะดำเนินการในจังหวัดพิษณุโลกแล้ว ยัง ขยายพันธุ์ไปยังจังหวัดอื่นๆ ด้วย เช่น พิจิตร สุโขทัย เชียงใหม่ เป็นต้น ความสำคัญทางเศรษฐกิจ สามารถให้ผลผลิตได้เป็นจำนวนมากและนำ ไปทำกล้วยตาก จนเป็นอาชีพที่สำคัญอย่าง หนึ่งของชาวจังหวัดพิษณุโลก

กล้วยเป็นพืชที่อยู่คู่บ้านของคนไทยในอดีต เพราะทุกส่วนของกล้วยสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ทั้งสิ้น ต้นกล้วยนำมาเป็นอาหารของหมู กาบกล้วยทำเชือก แกนในกล้วยนำมาทำแกงที่เรียกว่าแกงหยวก ใบกล้วยที่เรียกว่าใบตองนำมาทำประโยชน์มากมาย ตั้งแต่ทำบายศรีใน พิธีกรรมต่างๆ จนถึงใช้ห่อของ ดอกกล้วยที่เรียกว่าหัวปลีนำมารับประทานทั้งสดๆ เช่น หั่น ซอย รับประทานกับขนมจีนน้ำพริก หั่นยาวๆรับประทานกับก๋วยเตี๋ยวผัดไทย นำมาทำกับข้าว เช่น ต้มยำหัวปลี เป็นต้น ผลกล้วยให้คุณค่าทางอาหารทั้งผลดิบและผลสุก โดยเฉพาะ ผลสุกนำมาบดกับข้าวป้อนเด็ก กล้วยสามารถนำไปทำอาหารได้ทั้งคาวและหวานมากมาย ถ้ามีกล้วยสุก มากเกินไป ในอดีตชาวบ้านจึงมีวิธีถนอมอาหารประเภทกล้วยนี้ด้วยการปอกเปลือก นำไปตาก เก็บไว้รับประทานได้เป็นเวลานาน จังหวัดพิษณุโลก มีอำเภอหนึ่งคือ อำเภอบางกระทุ่ม ระยะทางอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๓๕ กิโลเมตร พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและค้าขาย สินค้าสำคัญที่มีชื่อเสียงและสร้างรายได้เป็นอย่างดี คือ กล้วยตาก ซึ่งมีรสหวาน กลิ่นหอม นุ่ม อร่อย ส่งไปขายทั่วประเทศ รวมทั้ง ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ฮ่องกง และ สหรัฐอเมริกาอีกด้วยในนามกล้วยตากบางกระทุ่ม จากที่ได้กล่าวแล้วว่ากล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีคุณค่า มีประโยชน์มาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยน้ำว้าซึ่งมี สารอาหารประเภท โปรตีน ไขมัน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก น้ำ น้ำตาล และวิตามินซี ล้วนแล้วแต่เกิดประโยชน์ต่อร่างกายทั้งสิ้น ชาวอำเภอบางกระทุ่มจึงนิยมปลูกกล้วยน้ำว้า ได้มีการปรับปรุงพันธุ์จนเป็นที่นิยมปลูกกันมาก คือ กล้วยน้ำว้าพันธุ์มะลิอ่อง มีคุณสมบัติ เป็นกล้วยพันธุ์ที่โตเร็ว มีความต้านทานโรคและแมลง ให้ผลมาก เนื้อละเอียด ไส้กล้วยอ่อนเป็น สีขาว มีความหวานสูง จึงเป็นกล้วยพันธุ์ที่ดีที่สุดสำหรับนำมาทำกล้วยตาก

คุณศิลาพร สิงหลักษณ์ บุตรสาวกำนันประพาส เป็นผู้ประสานงานกลุ่มเเละเจ้าหน้าที่การตลาด ทำกล้วยตากมาตั้งเเต่สมัยบรรพบุรุษโดยสมัยก่อนทำกล้วยตากโดยการตากเเดดโดยไม่มีตู้ ปัจจุบันมีตู้ตากพลังงานเเสงอาทิตย์ ที่กลุ่มเป็นกลุ่มที่ได้มาตรฐาน OTOP 5 ดาว เเละในเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาได้รับรางวัลที่ 1 จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามสยามบรมราชกุมารี นอกจากนี้สินค้ายังได้รับความนิยมตจากกลุ่มลูกค้าเป็นอันมาก กำลังผลิตไม่เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค นอกจากนี้สินค้ากล้วยตากกำนันประภาส ยังมีจำหน่ายในร้านซีพีออล ร้านก้านกล้วย

ติดต่อผลิตภัณฑ์ได้ที่
คุณศิลาพร สิงหลักษณ์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านเกาะคู
137 หมู่ที่ 3 ตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก
โทร.086-8329391

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น